
ถ้าพูดถึง "น้ำผึ้ง" คงไม่มีใครไม่เคยลิ้มลองรสหอมหวาน อันเปี่ยมด้วยคุณค่าจากธรรมชาติที่มีวางขายกันตามท้องตลาดอย่างแพร่หลาย แต่จะมีสักกี่คนที่สนใจที่มาของมันว่าแสนยากเย็นลำบากขนาดไหน กว่าจะได้มาบรรจุขวดอัดแน่นไปด้วยความอร่อยอย่างทุกวันนี้
และนี่คือภาพกิจกรรมเสี่ยงตาย เพื่อตามเก็บน้ำผึ้งป่าบนภูผาที่สูงชันในประเทศเนปาล ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตของหลายคน อีกทั้งบางคนยังยึดเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากสถานที่ดังกล่าวเป็นแหล่งสายพันธุ์ผึ้งขนาดใหญ่ เช่น พันธุ์ Apis laboriosa ผึ้งเหล่านี้ มักจะชอบทำรังบนหน้าผา หรือตีนเขา

ซึ่งบรรดานักตีผึ้งจะใช้เชือกและบันได ปีนขึ้นไปตีผึ้งบนหน้าผาสูง โดยใช้ควันรมให้ผึ้งบินออกจากรังให้หมดก่อนการตี
จากนั้นจะใช้ตะกร้ารองรับรังผึ้ง ซึ่งจะมีคนรออยู่ด้านล่าง

การตีผึ้งที่ว่านี้ มักจะทำกันปีละ 2 ครั้ง ที่หุบเขาหิมาลายัน

แต่ละครั้งต้องไปกันหลายๆคน ใช้เวลานานกว่า 2 -3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความสูงและยากลำบากขนาดไหนก่อนการตีผึ้ง มักจะทำพิธีกรรมด้านล่างของหน้าผาก่อนจะขึ้นมาเก็บผึ้ง

โดยพิธีกรรมจะแตกต่างออกไปในแต่ละชนเผ่า เช่น อาจมีการบวงสรวงด้วยดอกไม้, ผลไม้ และข้าวหลังจากนั้น ค่อยเริ่มใช้ไฟรมควัน จากด้านล่างของหน้าผา ให้ควันไปรมรังผึ้ง เพื่อให้ผึ้งหนี ก่อนใช้เชือกและบันไดไต่ขึ้นไปตัดรวงผึ้งออกมา

ปัจจุบัน มีหลายคณะทัวร์นิยมพานักท่องเที่ยวไปดูการตีผึ้ง ในหลายๆที่ เพื่อให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ซึ่งเส้นทางที่ไปต้องเดินด้วยเท้า ท่ามกลางทัศนียภาพอันสวยงามตลอดการเดินทาง ซึ่งเส้นทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ได้แก่ Bhujung, Nai Chi, Pasgaon, Naya Gaun, Ludhi และ Dare ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสขั้นตอนการตีรังผึ้งซึ่งต้องใช้ความกล้า ความเร็วและเสี่ยงตายอย่างไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบัน ชาวบ้านเหล่านั้นยังคงใช้วิธีนี้อยู่สืบมานานกว่า 13,000 ปีมาแล้ว!!!

ขณะที่ ชนเผ่าราย (Rai) จะเป็นชนเผ่านักล่าน้ำผึ้งที่อยู่ตามหน้าผา อย่างรังผึ้งพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Apis laboriosa นักล่าน้ำผึ้งจะแบกเชือกที่ทำมาจากไม้ไผ่ยาวกว่า 250 ฟุต ทำงานกว่า 4 ชั่วโมงเพื่อเก็บน้ำผึ้ง และผจญกับฝูงผึ้งหลาย 1,000 ตัวเลยก็ว่าได้

หนทางที่เต็มไปด้วยภยันตราย

หนทางยังอีกยาวไกล

เป้าหมายคือรังผึ้งอันหอมหวาน

ยอมมาเป็นของข้าซะดีๆ !!

เยอะแยะเต็มไปหมด

คุ้มกับหยาดเหงื่อที่เสียไป

ดูชัดๆ

ว่าแล้วก็ต้องชิมหน่อย !!
ชมคลิปด้านล่าง (รอสักครู่...)
http://www.sanookclip.info/2017/04/blog-post_618.html
No comments:
Post a Comment